วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต — Presentation Transcript

  • 1. เทคนิค การค้นหาข้อมูล ใน ... อินเตอร์เนต รายวิชา ASI 403 ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ภาคการศึกษาที่ ๑ / ๒๕๕๒ สถาบันอาศรมศิลป์
  • 2. การค้นหาข้อมูลในเวปไซต์ ปัญหาในการสืบค้น การวางแผนและกลยุทธ์การสืบค้นข้อมูล รูปแบบการสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เนต เวปไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Engine) ที่ได้รับความนิยม วิธีการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เนต เทคนิควิธีการในการใส่คำสืบค้น การบันทึกเวปเพจ (Web Page) ที่สนใจเป็นไฟล์
  • 3. ระบบการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า เซิร์สเอ็นจิน (Search Engine) เป็นหัวใจสำคัญของการค้นหาข้อมูล ที่จะทำให้การค้นหาข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตนั้นเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงได้อย่างแท้จริง ระบบค้นหาที่นิยมใช้กันอยู่ในขณะนี้ เช่น www.google.com www.google.co.th www . yahoo . com www . altavista . com ฯลฯ ระบบค้นหายังมีอีกมาก แม้แต่เว็บเพ็จขององค์กรต่าง ๆ ก็มักจะมีระบบค้นหา เพื่อให้ผู้ต้องการข้อมูลภายในองค์กรจะได้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
  • 4. ไม่ทราบความต้องการที่แท้จริง และไม่ทราบว่าควรจะค้นหาข้อมูลจากแหล่งใด ข้อมูลมีเยอะแยะมากมาย หลายสิบหน้า หรือเป็นพันๆ แล้วจะเลือกอย่างไรให้ตรงประเด็นที่เราต้องการมากที่สุด จะทำอย่างไร และควรใช้คำสืบค้นอย่างไร ? ที่จะได้ข้อมูลตรงประเด็นที่เราต้องการมากที่สุด ?
  • 5. ๑ . รู้เป้าหมายในการค้นหา เช่น ต้องการข้อมูลสารสนเทศเชิงวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลการเขียนบทความ ทำรายงาน ทำการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นต้น ๒ . ต้องรู้ว่าต้องการค้นเรื่องอะไร ๓ . รู้แหล่งข้อมูลและฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้น ( URL :http://www. arsomsilp . ac.th ) ๔ . การรู้จักเลือกเครื่องมือช่วยค้นที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ต้องการ ๕ . กำหนดคำที่จะใช้ค้น ( Query ) เช่นคำสำคัญหรือหัวเรื่อง ๖ . การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูล ๗ . วิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ที่ได้ วิธีแก้ปัญหาในการสืบค้นข้อมูล
  • 6. เลือก Search Engine ที่ใช้ประจำไว้ใน “ Bookmarks” or “Favorite Places” ถ้าหัวเรื่องกว้างให้ใช้ Subject Search เช่น Yahoo, LookSmart or Encyclopedia Britannica ถ้าเป็นเรื่องเฉพาะหรือหัวข้อแคบให้ใช้ Keyword ค้นใน Infoseek, excite และ Savvy ค้นจากหลายๆฐานข้อมูลหรือค้นจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น AltaVista, HotBot or NorthernLight ทำความเข้าใจกับเครื่องมือวิธีการสืบค้น ภาษา และ เทคนิคที่ใช้เพื่อไม่ให้คำค้นกว้างเกินไป
  • 7. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
  • 8. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จากการที่เจ้าของเวปไซต์คัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะ ดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ
  • 9. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine ผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า ๗๐ % จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ ( Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา ( ระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่ควบคุมและจัดการ มีชื่อเรียกว่า Spiders ซึ่งการทำงานของมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก
  • 10. Google http://www.google.com/ Yahoo http://www.yahoo.com/ AltaVista http://www.altavista.com/ Excite http://www.excite.com/ HotBot http://www.hotbot.com/ Infoseek http://www.infoseek.com/ Lycos http://www.lycos.com/
  • 11. Siamguru http://www.siamguru.com ThaiFind http://www.thaifind.com Sanook http://www.sanook.com Tuk - Tuk http://www.tuk-tuk.com/index-b.asp Thailand2000 http://www.thailand 2000 .com
  • 12. การค้นหาข้อมูล ในเวิลด์ไวด์เว็บ ทำได้โดย การพิมพ์คำ วลี หรือคำถาม ลงไปในช่องว่าง แล้วคลิกที่ search ตัวอย่างเช่น เราต้องการทราบสภาพอากาศในกรุงเทพฯ ให้พิมพ์คำว่า Bangkok weather หรือ what is the weather in Bangkok? ลงไป เมื่อคลิ๊กที่ search โปรแกรมจะค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวกับสภาพอากาศในกรุงเทพฯให้ทันที
  • 13. ๑ ๒ การใช้ เครื่องหมาย คำพูด “ ...................” ถ้าเราต้องการค้นหาคำหรือวลีที่เฉพาะเจาะจง และแน่ใจ ว่าคำหรือวลี นั้น เช่น " you are my sun shine " ทำให้เราได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการมากกว่า การใช้ ตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ การค้นหาข้อมูลใน อินเตอร์เนต ให้ใช้ตัวอักษรตัวเล็กเท่านั้น เช่น ถ้าพิมพ์ว่า " Banana " ก็จะได้ผลลัพธ์จากเวปไซต์เฉพาะที่สะกดว่า Banana เท่านั้น แต่ถ้าใช้ banana เราจะได้ผลลัพธ์ จากทุกเวปเพจ
  • 14. ๓ ๔ การใช้เครื่องหมายบวก และ ลบ กรณีที่ต้องการให้ผลลัพธ์ทั้งหมด มีคำที่เราต้องการค้นหาอยู่ด้วย ให้ใส่ (+) ไปข้างหน้า เช่น ต้องการให้มีคำว่า phuket อยู่ในผลลัพธ์ ให้พิมพ์ beach diving sea + phuket แต่ถ้าต้องการให้ผลลัพธ์ไม่มีคำ ที่ต้องการอยู่ ก็ให้ใส่ ( - ) ด้านหน้าคำนั้น การใช้ Wildcards เราใช้ เครื่องหมาย (*) เป็นตัวร่วม สำหรับค้นหาเวปเพจ เพื่อให้ครอบคลุม ถึงคำที่เราต้องการในหลายๆรูปแบบ เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าเป็นหลักส่วนด้านท้ายเป็นอะไรไม่สนใจ แต่หากนำมาไว้ด้านหน้า เช่น * tor จะเป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor เป็นหลัก
  • 15. ๕ การใช้ ตัวเชื่อมทาง Logic มีอยู่ ๓ ตัวด้วยกันคือ AND เป็นการสั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น ! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น food AND fruit เป็นต้น OR เป็นการสั่งให้หาข้อมูล โดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปแสดงออกมา NOT เป็นการสั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเวปที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
  • 16. ๖ การระบุเงื่อนไขประเภทเอกสาร นำมาใช้ในกรณีที่ต้องการเอกสารฉบับจริง หรือเอกสารฟอร์แมตต่างๆ ที่เผยแพร่ผ่านเวปไซต์ เช่น ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ e-Learning ที่อยู่ในฟอร์แมต Microsoft PowerPoint วิธีการ คือระบุคำเฉพาะเพิ่มเติมในการสืบค้น คือ filetype:ppt เช่น e-Learning filetype:ppt หรือต้องการให้การสืบค้นมีความเฉพาะเพิ่มขึ้น เช่น e-learning site:nectec.or.th filetype:ppt นอกจากยังสามารถระบุฟอร์แมตเอกสารอื่นได้ เช่น doc สำหรับ Microsoft Word xls สำหรับ Microsoft Excel และ pdf สำหรับเอกสารในฟอร์แมต pdf
  • 17. ๗ การค้นหาคำในหน้าเวปเพจด้วย Web Browser ใช้ในกรณี ค้นหาข้อความที่ตรงกับความต้องการภายในเวปเพจที่ได้เลือกไว้ ( สะดวกต่อการนั่งไล่ดูทีละบรรทัด จากข้อความที่มีอยู่เต็มหน้าจอไปหมด ) วิธีการ นำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
  • 18. พิมพ์คำสั่ง URL ไปที่ Webs ite ที่ต้องการ คลิกเมนู File คลิกคำสั่ง Save As เลือก folder ที่จะใช้เก็บแฟ้ม คลิกคำสั่ง Save เครื่องจะเก็บเป็นไฟล์ชนิด HTML ถ้าต้องการเก็บเป็น Text File ให้เปลี่ยนชนิดเป็น .TXT